ไทรอยด์ห้ามกินอะไร

ไทรอยด์ห้ามกินอะไร ? รวมอาหารที่ผู้ป่วยไทรอยด์ควรหลีกเลี่ยง

“การเจ็บป่วย ไม่เป็นโรค เป็นลาภอันประเสริฐ” ประโยคนี้ยังคงตราตรึงอยู่เสมอ เพราะเมื่ออายุที่เริ่มมากขึ้น ย่อมมีอาการเจ็บป่วยตามมาเสมอ เพราะร่างกายของเรานั้นถดถอยลงทุกวัน ทุกวินาที การดูแลร่างกายอย่างดี ก็ยังสามารถที่จะเจ็บป่วยได้เสมอ แต่ละโรคนั้นก็มีทั้งสามารถรักษาให้หายขาดได้ หรือ บรรเทาให้เจ็บปวดน้อยลง มีหลากหลายวิธีที่จะช่วยให้ใช้ชีวิตได้ดังปกติ สำหรับวันนี้พวกเราจึงได้รวบรวมข้อมูลของโรค กับ “ไทรอยด์” ซึ่งต้องบอกเลยว่าเป็นอีกหนึ่งโรคที่ส่วนใหญ่จะเป็นกันมากในประเทศไทย ซึ่งอาการก็แสนทรมานซะเหลือเกิน โดยพวกเราได้รวบรวมทั้งสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ รวมไปถึงวิธีการปฏิบัติตัวทุกรูปแบบ รวมทั้งการดูแลตัวเองเพราะเมื่อเป็นโรคนี้แล้วจะต้องระวังตัวเองเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น การใช้ชีวิต อาหาร สิ่งแวดล้อม ซึ่งทุกอย่างอาจจะทำให้อาการของโรคนี้ดีขึ้น หรือ ถ้าปฏิบัติตัวที่ผิด ก็อาจจะทำให้อาการแย่ลงได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นเราจะดูแลตัวเองได้อย่างไร ไทรอยด์ห้ามกินอะไร ข้อมูลทั้งหมดพวกเราสรุปมาให้อ่านกันแบบเข้าใจง่ายแล้วในบทความนี้


ไทรอยด์เกิดจากอะไร

ไทรอยด์ห้ามกินอะไร

สำหรับโรค “ไทรอยด์” จะเรียกได้ว่าเป็นโรคยอดนิยมก็เป็นไปได้ เพราะว่าเมื่ออายุมากขึ้นก็จะพบว่าบางคนมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน สำหรับสาเหตุในการเกิดโรคนี้ จะเกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ โดยจะเป็นต่อมไร้ท่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย โดยจะทำหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมน เพื่อที่จะควบคุมระบบการเผาผลาญของร่างกาย ซึ่งถ้าหากว่าต่อมไร้ท่อนั้นทำงานผิดปกติ ก็จะมีการผลิตฮอร์โมนมากเกินไป หรือ ต่ำเกินไป ส่งผลให้กระทบต่อระบบเผาผลาญของร่างกายได้อย่างชัดเจน ที่สำคัญจะกระตุ้นให้การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ รวมไปถึงหัวใจกับสมองด้วย อีกทั้งความแข็งแรงของผิว เล็บ เส้นผม ก็จะเกิดอาการที่ผิดปกติได้ด้วยเช่นกัน สำหรับอาการของโรคไทรอยด์นั้น ในแต่ละคนก็จะแสดงอาการได้หลากหลายรูปแบบ จะขึ้นอยู่กับชนิดของความผิดปกติของต่อมไทรอยด์นั่นเอง ซึ่งความผิดปกติของไทรอยด์นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็นดังต่อไปนี้ 

  • ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน หรือ ไทรอยด์เป็นพิษ Hyperthyroidism สำหรับในภาวะนี้ จะเป็นภาวะที่ฮอร์โมนหลั่งออกมามากเกินความจำเป็นต่อร่างกาย สำหรับอาการที่บ่งบอกว่าเป็นภาวะนี้ได้แก่ การผอมลงทั้งที่รับประทานเท่าเดิม มีอาการหัวใจเต้นเร็ว แรง มือสั่น ใจสั่น มีอารมร์หงุดหงิดง่าย เหงื่อออกง่าย นอนไม่หลับ ตาโปน และ ผมร่วง
  • ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน หรือ ต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ Hypothyroidism สำหรับอาการนี้จะเรียกกันว่า “ไฮโปไทรอยด์” เพราะว่าร่างกายจะมีต่อมไทรอยด์ที่ทำงานต่อกว่าปกติ ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการตรงข้าวกับ ภาวะต่อมไทรอยด์เกิน นั่นก็คือ อ้วนง่าย น้ำหนักขึ้นเร็ว มีอาการง่วงบ่อย เฉื่อยชา  
  • ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ  สำหรับภาวะนี้จะเป็นอาการที่ฮอร์โมนล่งออกมาตามปกติ แต่ทว่าเกิดความผิดปกติที่ตัวของต่อมไทรอยด์ โดยจะส่งผลกระทบต่อการหลั่งปริมาณของฮอร์โมนได้ ในกรณีที่ตรวจแล้วพบก้อนที่ต่อมด้วย แต่ไม่อาจจะใช่ก้อนเนื้อมะเร็ง เพราะว่าตรวจพบเพียง 5% เท่านั้นที่ก้อนเนื้อนี้จะเป็นมะเร็ง 

สำหรับภาวะไทรอยด์ผิดปกติ จะพบได้หลายประเภท ซึ่งเมื่อสังเกตถึงความผิดปกติ หรือ มีอาการเหมือนดั่งที่บอกเอาไว้ ก็ควรที่จะปรึกษาแพทย์ในทันที เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย พร้อมทั้งค้นหาความเสี่ยงของโรคต่อมไทรอยด์ เมื่อปล่อยละเลยไป อาจจะทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายได้ในอนาคต เกิดภาวะอื่นแทรกซ้อน จนไปสู่การเสียชีวิตนั่นเอง 


ไทรอยด์เป็นพิษ คืออะไร

ไทรอยด์ห้ามกินอะไร

สำหรับภาวะ หรือ โรค ไทรอยด์เป็นพิษ จะส่งผลให้ร่างกายเกี่ยวกับระบบเผาผลาญพลังงาน ทำงานผิดปกติ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้น้ำหนักนั้นลดลงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งมีอาการอื่น ๆ เพิ่มเข้ามาด้วย ไม่ว่าจะเป็น ใจสั่น เหงื่อออกง่าย ผมร่วง มีอารมณ์หงุดหงิด 

สำหรับ โรคไทรอยด์เป็นพิษนั้น มักมีอาการคอพอก เพราะเป็นอาการที่ต่อมไทรอยด์ได้โตขึ้น จะพบกับก้อนขนาดใหญ่ที่บริเวณคอ ส่วนใหญ่สำหรับบางคนก็มีอาการตาโปน ร่วมเข้ามาด้วย ซึ่งจะพบบ่อยในผู้หญิง มากกว่าผู้ชายด้วย ซึ่งถ้าหากว่าผู้ป่วยมีภาวะไทรอยด์เป็นพิษที่ไม่รุนแรง ก็อาจจะไม่มีอาการแสดงให้เห็นเลยด้วย ยิ่งไปกว่านั้นในผู้สูงอายุ ก็ไม่ค่อยแสดงอาการอย่างชัดเจนมากนักด้วย 

ความอันตรายของโรคไทรอยด์เป็นพิษ ถือว่าส่งผลเสียต่อร่างกายเป็นอย่างมาก ดังนั้นแล้วจะต้องสังเกตตัวเองให้มาก ๆ เพราะเมื่อต่อมไทรอยด์เป็นพิษไปแล้ว เท่ากับว่าจะใช้ชีวิตต่อไปค่อนข้างจะลำบากซักหน่อย ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค ไทรอยด์เป็นพิษ ก็จะมีด้วยกันดังต่อไปนี้

  • Grave’s disease ภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองชนิดหนึ่ง

สำหรับสาเหตุนี้จะพบได้มากที่สุด เพราะเป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองชนิดหนึ่ง โดยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีผลกระทบต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ด้วย ซึ่งทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนที่มากจนเกินความต้องการของร่างกาย 

  • ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ 

สำหรับสาเหตุนี้จะพบมากในผู้สูงอายุ  จะพบก้อนเนื้อที่เจริญ บนต่อมไทรอยด์ มักจะเป็นก้อนเนื้อร้าย ที่ส่งผลให้ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป 

  • ต่อมไทรอยด์อักเสบ 

เป็นอาการที่สามารถทำให้ ฮอร์โมนที่เก็บอยู่ในต่อมไทรอยด์ รั่วออกมาได้ 

  • ร่างกายได้รับไอโอดีน มากเกินไป 

โดยอาการนี้ส่วนใหญ่จะพบในยาบางชนิด สาหร่ายทะเล อาหารทะเล หากมีการบริโภคไอโอดีนที่เกินความจำเป็นต่อร่างกาย จะทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนมากขึ้นกว่าปกตินั่นเอง 

  • ได้รับยากลุ่มฮอร์โมนไทรอยด์ มากเกินไป 

สำหรับอาการนี้ จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยภาวะ ไฮโปไทรอยด์ ที่รับประทานยากลุ่ม ฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป 


เช็ค อาการเตือนไทรอยด์ผิดปกติ 

ไทรอยด์ห้ามกินอะไร

แน่นอนเลยว่าก่อนที่จะเกิดโรคไทรอยด์ จะมีสัญญาณเตือนทั้งหมด  โดยเริ่มจาก อาการทั่วไป รวมทั้ง พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตามจะต้องหมั่นเช็ค 10 อาการเตือนดังต่อไปนี้ 

  • ผมร่วงผิดปกติ เส้นผมจะบาง เล็กลง ร่วงง่าย
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น ซึ่งผู้ป่วยภาวะนี้จะส่งผลกระทบไปถึงการทำงานของหัวใจด้วย 
  •  น้ำหนักจะเพิ่มขึ้น ลดลง แบบผิดปกติ 
  • นอนไม่หลับ เมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานหนักเกินไป ทำให้เกิดการกระตุ้นของระบบส่วนกลาง รบกวนการนอนได้
  • รู้สึกง่วงตลอดเวลา นี่แหละคืออาการของต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ เกิดภาวะบกพร่อง จะเกิดผลตรงข้ามกันคือ ง่วงนอนง่าย 
  • ขี้หนาว ขี้ร้อน มากขึ้น  ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานช้า 
  • ตาโปน ในผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ จะมีอาการระคายเคืองตา น้ำตาไหลง่าย จึงดูคล้ายว่าเป็นตาโปน 
  • การขับถ่ายที่ไม่ปกติ สำหรับในภาวะนี้ จะส่งผลให้ลำไส้ทำงานหนักขึ้น มีการอุจจาระบ่อยกว่าปกติ แต่อาการไทรอยด์ต่ำ ก็จะเกิดสิ่งที่ตรงกันข้ามก็คือ อาการอุจจาระยาก หรือ ท้องผู้ 
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ สำหรับคุณผู้หญิง จะส่งผลให้เกิดประจำเดือนขาด หรือ มาผิดปกติก็เป็นไม่ได้ แต่เมื่อรักษาให้ฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานแบบปกติแล้ว ก็จะกลับมาเช่นเดิม 
  • มีอาการผิวแห้ง สำหรับ ภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำ ระบบจะเผาผลาญทำงานได้ช้าลง ส่งผลให้ผิวแห้งมากขึ้นด้วย

    ถ้าหากว่าคุณเองมีอาการแบบใด กับ 1 ใน 10 ข้อนี้ ก็ควรที่จะรีบปรึกษาแพทย์ในทันที เพราะอาจจะทำให้เป็นโรคไทรอยด์ผิดปกติได้ แต่อีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญมาก ถ้าหากว่ามีภาวะแทรกซ้อนของโรคไทรอยด์เป็นพิษ โดยส่วนใหญ่แล้ว ถ้าหากว่าได้รับการรักษาที่ถูกต้อง โอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจะน้อยมาก แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษา ก็อาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนดังต่อไปนี้

ภาวะแทรกซ้อนกับ ปัญหาเรื่องสายตา

สำคัญมากกับผู้ป่วยโรคไทรอยด์ ที่จะพบปัญหาเรื่องสายตาเป็นพิเศษ จะมีภาวะแทรกซ้อนเช่น ตาไวต่อแสง เห็นภาพซ้อน ตาแห้ง ส่วนใหญ่แล้วอาการจะดีขึ้น เมื่อได้รับการรักษานั่นเอง 

ภาวะแทรกซ้อนกับ ระบบหัวใจ 

ภาวะแทรกซ้อนนี้ถือได้ว่าเป็นอัตราต่อชีวิตของผู้ป่วยโรคไทรอยด์เป็นพิษอย่างมาก เพราะความผิดปกติที่เกี่ยวกับหัวใจ จะส่งผลให้หัวใจเต้นเร็ว มีการบีบหัวใจ เกิดจากหัวใจเต้นผิดปกติ หัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้ไม่เพียงพอ 

ภาวะแทรกซ้อน กับ ภาวะไทรอยด์ต่ำ 

สำหรับในภาวะนี้ จะทำให้ระดับฮอร์โมนต่ำกว่าปกติ จะทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้เช่น หนาว เหนื่อยง่าย พร้อมทั้งน้ำหนักผิดปกติ 

ภาวะแทรกซ้อน กับ กระดูกเปราะบาง 

เมื่อไม่ได้รักษาโรคไทรอยด์เป็นพิษ จะส่งผลเสียต่อมวลกระดูกในร่างกาย ทำให้กระดูกนั้นอ่อนแอ ส่งผลให้ภาวะแทรกซ้อนนี้เกิดขึ้นกับกระดูกของเราได้โดยตรง 

ภาวะแทรกซ้อน กับ ไทรอยด์เป็นพิษขั้นวิกฤต

อย่างที่ได้บอกไปว่า เมื่อเป็นโรคไทรอยด์ขั้นวิกฤต จะเกิดภาวะที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ พร้อมทั้งมีไข้สูงเกินกว่า 38 องศา อาเจียน ท้องเสีย บางรายอาจจะหมดสติไปได้

โดยตัวของต่อมไทรอยด์จะมีความสำคัญต่อระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายเป็นอย่างมาก ดังนั้นแล้วตัวเราเองก็จะต้อพักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารปรุงสุก ครบหลัก 5 หมู่ รวมไปถึงการตรวจสุขภาพ กับ ตรวจไทรอยด์ฮอร์โมนประจำปี อย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นแล้วเรื่องอาหารการกิน ก็จะต้องมีเลือกกันบ้างเพราะเมื่อป่วยเป็นไทรอยด์ผิดปกติขึ้นมาก็จะค่อนข้างอันตรายมาก  


ไทรอยด์ ห้ามกินอะไรบ้าง

ไทรอยด์ห้ามกินอะไร

อีกหนึ่งเรื่องที่ผู้ป่วยไทรอยด์กังวลใจเป็นอย่างมาก นั่นก็คือ อาหาร พร้อมทั้งการปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวัน ซึ่งเมื่อถ้าคุณป่วยเป็นโรคนี้จะต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่มีผลทำให้โรคนี้กำเริบ หรือ มีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้ ดังนั้นแล้วความรู้เบื้องต้นสำหรับเรื่องนี้ก็คือจะต้องไม่กินอาหารที่ส่งผลต่อต่อมไทรอยด์โดยตรงนั่นเอง ไทรอยด์ห้ามกินอะไร โดยจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ห้ามทาน อาหารที่มีไอโอดีน สังกะสี และ ซิลีเนียมสูง

เป็นข้อห้ามแรกเลยสำหรับ ไอโอดีน สังกะสี รวมไปถึงตัวของ ซิลีเนียม โดยจะพบได้มากในอาหารทะเล ปลา เนื้อสัตว์ รวมไปถึงเครื่องในสัตว์ด้วย ส่วน ผัก ก็จะพบในกระเทียม เห็ด เมล็ดทานตะวัน ถั่วเหลือง รวมทั้ง ธัญพืชต่าง ๆ โดยสารอาหารที่กล่าวมาข้างต้นนี้ส่งผลสำคัญมากเพราะต่อมไทรอยด์จะนำไปผลิตฮอร์โมน ซึ่งในผู้ป่วยโรคนี้ จะมีฮอร์โมนในร่างกายเกินความจำเป็นมากอยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่ควรเลยที่จะบริโภคอาหารที่มีสารประเภทนี้อยู่ เพราะจะไปกระตุ้นให้ต่อมผลิตฮอร์โมนขึ้นมาอีกนั่นเอง 

นม และ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจาก “นม” 

นม เป็นของอร่อยสำหรับใครหลายคน แต่ถ้าใครที่ไมได้ดื่มอยู่แล้วก็หลีกเลี่ยงได้ง่าย เพราะตัวของ “นม” หรือ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจาก “นม” จะส่งผลกระทบต่อต่อมไทรอยด์เป็นอย่างมาก เพราะว่านม จะกระตุ้นให้ผลิตฮอร์โมนมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้นแล้วถ้าดื่มเข้าไปในปริมาณที่มาก ก็จะทำให้อาการที่เป็นอยู่แย่ลงไปอีก เมื่อรู้ตัวว่าเป็นโรคนี้ควรหลีกเลี่ยงเด็ดขาด 

หลีกเลี่ยง แอลกอฮอล์ และ คาเฟอีน

ผู้ที่ดื่ม เหล้า เบียร์ เป็นประจำ เมื่อรู้ตัวว่าท่านเป็นโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ผิดปกติ จะต้องเลิกดื่มทันที เพราะว่าจะส่งผลให้ไม่ได้รับอาหารที่ควรจะได้ แล้วไปกระตุ้นให้ต่อมนี้ทำงานหนักขึ้น ส่วนทางด้านผู้ที่ชื่นชอบการดื่มกาแฟ ก็จะต้อง งดทันที เพราะตัวคาเฟอีน ก็จะไปกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนออกมามากขึ้นนั่นเอง ดังนั้นเปลี่ยนจาก แอลกอฮอล์ กับ คาเฟอีน หันมาดื่มน้ำสมุนไพรแทนก็ได้เช่น ตะไคร้ ขิง เป็นต้น

งด ไขมันที่ไม่ดีต่อสุขภาพเข้าสู่ร่างกาย

สำหรับผู้ป่วยไทรอยด์ ไม่ควรบริโภคอาหารที่มีไขมันมากอยู่แล้ว ไม่ควรกินอาหารเพิ่มไขมันในเส้นเลือดสูง ดังนั้นแล้ว อาหาร หรือ ขนมจำพวกไขมันทรานส์ จึงเป็นเรื่องที่ต้องงดในทันที พบเจอได้ใน เฟรนซ์ฟรายส์ เค้ก คุกกี้ โดยมันจะทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานหนักขึ้น แถมยังเกิดอาการอักเสบได้ด้วย ดังนั้นแล้วไขมันต่อสุขภาพที่ต้องหันมาทานแทนนั่นก็คือ โอเมก้า 3 หรือ ปลาน้ำจืดบางชนิด เพราะอาหารทะเลก็ต้องหลีกเลี่ยงด้วยเช่นกัน

สำหรับธาตุอาหารทีกล่าวมาข้างต้น ผู้ปวยไทรอยด์จะต้องควบคุมให้ได้ ไม่เช่นนั้นแล้วอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยไทรอยด์จะยังคงต้องทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่จะเน้นไปทางผัก ผลไม้ ที่ช่วยให้อิ่มท้อง มีใยอาหารขับถ่ายง่าย มีวิตามินที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย และ ให้ร่างกายทำงานได้ปกติ ดังนั้นผู้ป่วยไทรอยด์ หรือ ผู้ที่ยังไม่ป่วยก็ต้องดูแลตัวเองเป็นจุดเริ่มต้น     


วิธีดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยไทรอยด์

สำหรับผู้ป่วยบางคนก็มีการกังวลกับการรับมือโรคไทรอยด์กันอยู่บ้าง แน่นอนว่าเรื่องนี้ไม่ได้ผิดอะไร แต่ทว่าเมื่อคุณรู้ตัวว่าคุณเองป่วยเป็นโรคนี้ หรือ คนในครอบครัวที่เป็นโรคนี้ จะต้องเคร่งครัดเรื่องการควบคุมอาหาร ทานยาตามแพทย์สั่ง สังเกตอาการเรื่อย ๆ เมื่อพบเรื่องปกติจะต้องปรึกษาแพทย์เฉพาะทางก่อนเสมอ โดยจะมี ดูแลผู้ป่วยเบื้องต้นดังต่อไปนี้ 

ข้อควรรู้เกี่ยวกับผู้ป่วย โรคไทรอยด์ 

  • ยารักษาโรคไทรอยด์นั้น จะใช้ไมได้ผลหากไม่มีการปรับ ดังนั้นยาที่ใช้อยู่จะมีการปรับเป็นประจำ 
  • ร่างกายของผู้ป่วยที่จะไม่ดีต่อการเข้าใช้รังสีบำบัด หรือ การผ่าตัด ดังนั้นจะต้องเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตซะใหม่ 
  • เมื่อพบว่า มีความผิดปกติทีเกิดขึ้นจากการเป็นไทรอยด์ ตัวอย่างเช่น การเซื่องซึม หรือ ดูร้อนรนจนผิดปกติ มีอาการเศร้า รวมไปถึงมีความตื่นเต้นมากเกินไป ไม่ค่อยมีสมาธิ โดยอาการในลักษณะนี้ จะใช้วิธีการผสมผสานเพื่อเยียวยารักษาร่างกายทุกระบบ โดยการรักษาร่างกายในทุกระบบนั้นสามารถทำได้ดังต่อไปนี้

5 วิธีการรักษาโดยใช้วิธีผสมผสาน รักษาร่างกายทุกระบบ

ไทรอยด์ห้ามกินอะไร 

สำหรับวิธีการรักษาแบบนี้ จะเป็นวิธีที่ดูแลผู้ป่วยโรคไทรอยด์ได้อย่างเหมาะสมที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ชีวิตประจำวันให้อยู่กับโรคที่เป็นให้ได้ นี่แหละคือ 5 5 วิธีการรักษาโดยใช้วิธีผสมผสาน รักษาร่างกายทุกระบบ สำหรับผู้ป่วยไทรอยด์ 


1.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

เรื่องอาหารถือได้ว่าเป็นอันดับแรกของผู้ป่วยไทรอยด์ที่จะต้องรู้ถึงอาหารที่รับประทานได้ รวมทั้ง อาหารที่ควรงด ดังนั้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์หรือเลือกกินอาหารแบบคีโตก็ได้ เพราะถือได้ว่าเป็นเรื่องที่เหมาะสม ดังนั้นแล้ว ของหวาน ของมัน ของทอด แป้งขาว น้ำตาลขาว หรือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ควรงดเด็ดขาดแบบ 100% ด้วย 


2.ลดความเครียด

เรื่องที่ต้องกังวล เรื่องที่มีความไม่สบายใจ จะต้องมองหาวิธีที่ทำให้เรื่องเหล่านี้ออกไปจากความคิดให้หมด ดังนั้นแล้ววิธีคลายเครียดก็คือ กิจกรรมที่ตนเองชื่นชอบ ทำแล้วมีความสุข จะทำให้อารมณ์สดชื่อ แจ่มใส  นี่แหละคือข้อที่ต้องลดความเครียดให้ได้ เพราะนี่คืออีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้สุขภาพแย่ลง และ ต่อมไทรอยด์ทำงานหนักขึ้นด้วย 


3.ออกกำลังกายเป็นประจำ

สำหรับผู้ป่วยโรคต่อมไทรอยด์ผิดปกติ สามารถออกกำลังกายได้ แต่ทว่าจะต้องอยู่ในขอบเขตที่ไม่หนักมากจนเกินไป เนื่องจาก ฮอร์โมนอาจจะมีการผลิตออกมาอย่างมากได้ ดังนั้นการออกกำลังกายที่เหมาะสมก็คือ การเดินแบบช้า ๆ การเดินให้ร่างกายได้ขยับ แล้วค่อยเพิ่มความเร็วให้มากขึ้นนิดหน่อย สิ่งนี้ควรทำเป็นประจำสัปดาห์ละ 4-5 ครั้ง จะช่วยให้ร่างกายมีความสมดุล และ ลดความเครียดได้ดีอีกด้วย


4.ทำกิจกรรมกลุ่มผู้ป่วย ไทรอยด์ 

สำหรับผู้ป่วยไทรอยด์ แนะนำว่าให้ทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกัน ตัวอย่างเช่น มีการแชร์อาหารสุขภาพ ท่าออกกำลังกาย พูดคุยในกลุ่มเกี่ยวกับอาการของตัวเอง อีกทั้งผู้ที่มีความรู้ในเรื่องโรคไทรอยด์ ก็ควรอยู่ในกลุ่มด้วย เพราะสมาชิกจะได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อดูแลตัวเองกับการเป็นโรคไทรอยด์ได้อย่างถูกวิธีด้วย 


5.ปฏิบัติธรรม 

วิธีนี้คือขั้นตอนที่จะทำให้ผู้ป่วย มองเห็นความจริงมากขึ้นเกี่ยวกับ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ช่วยให้โรคไทรอยด์หายขาด แต่จะช่วยให้ผู้ป่วยคลายเครียดได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งจิตใจที่ดี มีความเข้าใจตัวเอง เข้าใจผู้อื่น ก็จะทำให้ทั้ง 4 ข้อที่กล่าวมาส่งผลดีมากยิ่งขึ้น 


อีกหนึ่งเรื่องราวของอาการเจ็บป่วยอย่าง “โรคไทรอยด์ผิดปกติ”  หรือ “โรคไทรอยด์” เป็นอีกหนึ่งโรคที่ถือว่าส่งผลต่อการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก แต่การปรับเปลี่ยนนั้นจะต้องทำอย่างระมัดระวัง เพราะว่าโรคนี้ค่อนข้างที่จะส่งผลเกี่ยวกับเรื่องความเครียด ความกังวล อาหาร จะต้องมีการปรับ การงดอาหารที่เคยชอบทาน เพื่อไม่ให้มีภาวะแทรกซ้อนที่จะทำให้อาการของโรคนี้แย่ลงไปกว่าเดิม ซึ่งข้อมูลทั้งหมดที่พวกเราได้รวบรวมเอาไว้ในบทความนี้ เชื่อเลยว่าจะทำให้ท่านผู้อ่านเข้าใจเรื่องราวของ “โรคไทรอยด์” มากขึ้น ตั้งแต่การดูแลตัวเอง สังเกตตัวเอง รวมไปถึงเมื่อเป็นโรคนี้แล้ว เราเองก็จะต้องเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตของตัวเองใหม่ เพื่ออยู่กับมันให้ได้ตามปกติ อย่าลืมต้องดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดีก่อนที่จะสายเกินไป 


อ้างอิงจาก:

https://www.sanook.com/women/93159/

https://www.bpksamutprakan.com/care_blog/view/133

https://www.sikarin.com/health/

Recommended Posts