โรคเบาหวาน คืออะไร | รู้จัก เบาหวาน แบบนี้ สบายไปอีกนาน
โรคเบาหวาน คืออะไร ? โรคเรื้อรังอันดับต้นๆ ของคนไทย เกิดจากความผิดปกติในการสร้างฮอร์โมนทีชื่อว่า “อินซูลิน” ที่คอยควบคุมน้ำตาลในเลือด ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
ซึ่งอาจทำให้พ่วงโรคอื่นตามมาด้วยอีก อย่างโรคหลอดเลือด โรคหัวใจ โรคความดัน เพราะความอันตรายที่แท้จริงจากโรคเบาหวาน คือ โรคแทรกซ้อน
โรคเบาหวานสามารถเป็นได้ผ่านทางกรรมพันธุ์ รวมถึงอีกตัวการหลัก คือ พฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราเอง ไม่ออกกำลังกาย อายุเพิ่มขึ้น ความเครียด รับประทานแต่อาหารที่ไม่มีประโยชน์ ฯลฯ ทั้งหมดนี้จะส่งผลให้โรคนี้ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ
โรคเบาหวาน คืออะไร อาการเป็นอย่างไร?
อาการของผู้ป่วยเป็นเบาหวาน ที่มีน้ำตาลสูงจากค่าปกติไม่มาก อาการของโรคเบาหวานอาจแสดงออกมาไม่ชัดเจน ควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจอย่างละเอียดต่อไป ถ้าเกิดมีอาการดังนี้
- ปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติและมีปริมาณมาก เนื่องจากร่างกายพยายามขับน้ำตาลออกนอกร่างกาย ทำให้สูญเสียน้ำในร่างกาย ส่งผลให้คอแห้ง กระหายน้ำมากขึ้น
- ปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน
- รู้สึกเหน็ดเหนื่อยไม่มีแรง อ่อนเพลียง่าย
- การมองเห็นเปลี่ยนไป สายตาพร่ามัว ขบคิดปัญหาง่ายๆไม่ดี
- แผลหายช้า เกิดเป็นแผลเรื้อรัง
- น้ำหนักตัวลดลง
- เป็นแผลหรือเป็นฝีง่าย แต่หายยาก
- ความรู้สึกทางเพศลดลง
- มีอาการชา โดยเฉพาะที่มือและขาฃ
- หิวบ่อย กินจุ
- คันตามผิวหนัง
ที่มา
www.bangkokpattayahospital.com
โรคเบาหวานขึ้นตา คืออะไร
โรคเบาหวานขึ้นตา คือ โรคแทรกซ้อนมาจากโรคเบาหวาน เกิดจากการที่ผู้ป่วยไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดมีหลายสาเหตุมาก
สาเหตุหลักๆ คือปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงอยู่ตลอดเวลา ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงจะทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงจอประสาทตาเกิดการอุดตัน
ส่งผลให้ร่างกายสร้างเส้นเลือดฝอยขึ้นมา เพื่อทดแทนเส้นเลือดเดิมที่เกิดการอุดตัน เส้นเลือดฝอยเหล่านี้บอบบาง เปราะแตกง่าย ทำให้มีเลือดออกบริเวณจอรับภาพในตา
เป็นภาวะที่จอตาเปลี่ยนแปลงจนอาจทำให้ตาบอดได้ หากมีสัญญาณเตือน หรือ พบว่าเป็นโรคเบาหวานแล้ว ควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
ในระยะแรก ผู้ป่วยที่ปล่อยให้เบาหวานขึ้นตาจะยังไม่มีอาการแสดงให้เห็น พอเริ่มระยะที่มีเส้นเลือดฝอย จะเริ่มมีปัญหาในการมองเห็น ตาพร่า ตามัว เพราะระยะนี้เริ่มมีเลือดออกในจอประสาทตาและน้ำวุ้นตาได้
ถ้าค่าระดับน้ำตาลอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือน่าสงสัย ควรจะตรวจซ้ำภายในระยะ 1 ปี เพื่อป้องกันการสูญเสียในการมองเห็น
ที่มา
www.siphhospital.com/th/news/article/share/564
เบาหวานชนิดที่ 1 และ ชนิดที่ 2 ต่างกันอย่างไร
ช่วงอายุและลักษณะของผู้ป่วย
- เบาหวานชนิดที่ 1 : พบได้ในช่วงวัยรุ่น มักพบคนในช่วงอายุน้อย ต่ำกว่า 30 ปี, มีรูปร่างผอม
- เบาหวานชนิดที่ 2 : พบในวัยกลางคนถึงอายุมาก มักพบคนในช่วงอายุ 40 ปี ขึ้นไป, มีรูปร่างอ้วน อยู่ในภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน ไม่ค่อยออกกำลังกาย โรคเบาหวานชนิดนี้คือชนิดที่พบได้มากที่สุด*
สาเหตุที่เกิด
- เบาหวานชนิดที่ 1 : เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ จนเกิดภาวะขาดอินซูลิน
- เบาหวานชนิดที่ 2 : เกิดจากภาวะที่ร่างกายสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อความต่อความต้องการของร่างกาย หรือ อินซูลินที่ผลิตออกมานั้นร่างกายไม่สามารถตอบสนองได้
การรักษา
- เบาหวานชนิดที่ 1 : ควรพบหมออย่างสม่ำเสมอเพื่อฉีดอินซูลิน อย่างไรก็ตาม คนไข้สามารถฉีดเองได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ และไม่ควรปรับระดับอินซูลินเอง ถ้าผู้ป่วยกลัวเข็ม ไม่กล้าฉีด ปัจจุบันก็มีทางเลือกโดยการจ้างผู้ดูแลแบบมืออาชีพไปดูแลบริการถึงที่บ้านได้ และมีคำถามที่ว่า ต้องฉีดฮอร์โมนอินซูลินนี้ไปตลอดชีวิตเลยหรือไม่ ? ต้องขอตอบว่าจริง เพราะสภาวะของร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินเองได้ จึงจำเป็นต้องได้รับยาอินซูลินทุกวัน เพื่อที่จะดำรงชีวิตได้ตามปกติ
- เบาหวานชนิดที่ 2 : รับประทานยาในกลุ่มของ DPP-4 inhibitors เป็นกลุ่มยาประเภทใหม่ ซึ่งกระบวนการของมันจะช่วยเข้าไปยับยั้งการทำงานของโปรตีน ทำให้อินซูลินยังอยู่ในกระแสเลือด กระบวนการดังกล่าวยังช่วยให้การผลิตน้ำตาลใหม่ และระดับน้ำตาลในกระแสเลือดลดลง แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเราจะเลิกใช้ยากลุ่มเก่า เพราะในกลุ่มนี้ยังคงรักษาได้ดี แต่กระบวนการออกฤทธิ์จะต่างกับกลุ่มใหม่ตรงที่ กลุ่มนี้จะกระตุ้นให้ตับอ่อนหลังอินซูลินออกมามากขึ้น แต่มีผลข้างเคียงในกรณีที่ใช้ไปนานๆอาจจะไม่ได้ผล และเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
ที่มา
เบาหวานรักษาหายไหม
เมื่อสมัยก่อนยังไม่มี วิธีรักษาโรคเบาหวานให้หายขาด แต่ด้วยวิธีทางการแพทย์ในปัจจุบันที่มีวิจัยการศึกษาอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ปัจจุบันมีวิธีการรักษาผู้ป่วยเบาหวานให้หายขาดได้ แต่ต้องเป็นมาได้ไม่นานเท่านั้น
ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและลดอัตราการเกิดโรคเบาหวาน ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันใหม่ ดังนี้
1. ออกกำลังกายเป็นเป็นประจำ คุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควรจะเป็น
2. อย่าปล่อยให้อ้วนลงพุง รู้จักควบคุมอาหาร กินให้ตรงตามเวลา ครบ 3 มื้อ
3. รับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ ไม่กินจุกจิก
4. ลดข้าวขาวหรือแป้งขัดสี หรือ เปลี่ยนจากข้าวขาวเป็นข้าวกล้องแทน
5. ไม่ดื่มแอลกอฮอร์และสูบบุหรี่ เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคตับอ่อนอักเสบ
ที่มา
เบาหวานขณะตั้งครรภ์
เมื่อ คุณแม่ตั้งครรภ์ รกจะสร้างฮอร์โมนบางชนิดที่มีฤทธิ์ต่อต้านฮอร์โมนอินซูลินที่คอยคุมระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือดสูง ส่งผลร่างกายผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอ
ถ้าไม่ได้รับการควบคุม มีแนวโน้มเสี่ยงต่อการเกิดครรภ์พิษ ทารกมีพัฒนาการทางสมองที่ช้าลง ภาวะแท้งบุตรได้ง่าย ซึ่งโดยปกติแล้วแพทย์ไม่สนุนให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานนั้นตั้งครรภ์
สาเหตุและความเสี่ยง
- คนในครอบครัวเคยเป็นโรคเบาหวานมาก่อน
- มีอายุตั้งแต่ 25 ปี ขึ้นไป
- มีประวัติเคยเป็นก่อนตั้งครรภ์
- เคยคลอดน้ำหนักทารกมาก
- เป็นโรคความดันโลหิตสูง
- น้ำหนักเกินมาตรฐาน
- ผ่านการคลอดบุตรมาแล้วหลายคน
- เคยแท้งบุตรมาก่อน โดยไม่ทราบสาเหตุ
- ชาติพันธุ์
- คลอเรสเตอรอลในเลือดสูง
อาการ
- กระหายน้ำบ่อย
- ทานเก่ง ทานจุ
- ปัสสาวะบ่อย (อาจลุกขึ้นมาปัสสาวะในช่วงกลางคืน)
- มีอาการอ่อนเพลียมากกว่าปกติ
การรักษา
- ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ควบคุมดูแลเรื่องอาหารการกินให้ถูกสัดส่วนและถูกเวลา
- มาตรวจอย่างสม่ำเสมอตามแพทย์นัด
การป้องกัน
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- พยายายามลดอาหารจำพวกแป้ง และน้ำตาล
- หลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น มะม่วงสุก ทับทิม ทุเรียน น้อยหน่า เป็นต้น
- รักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติทั้งก่อนและหลังตั้งครรภ์
ผลไม้สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
ผลไม้ที่มีปริมาณน้ำตาลต่ำ ผู้ป่วยสามารถทานได้แต่ควรจำกัดปริมาณการทานให้พอดี ลองทำตามเพื่อสุขภาพทีดีของตัวคุณเอง
- ฝรั่ง ปริมาณที่พอเหมาะต่อวัน คือ 1 ผลเล็ก ไม่เกินครึ่งผลใหญ่
- ส้มโอ ปริมาณที่พอเหมาะต่อวัน คือ1-2 กลีบ/1 ส่วน
- แอปเปิ้ล ปริมาณที่พอเหมาะต่อวัน คือ 1 ลูกเล็ก/1 ส่วน
- ส้ม ปริมาณที่พอเหมาะ 1 ส่วน คือ 1-2 ผล
- แก้วมังกร ไม่ควรทานเกิน½ ผล/1ส่วน
- ชมพู่ ปริมาณที่พอเหมาะต่อวัน ต้องไม่เกิน 1-2 ผล
- กล้วย ถ้าเป็นกล้วยหอมให้รับประทานมื้อละ ½ ผล /1 ส่วน หากเป็นกล้วยไข่หรือกล้วยน้ำว้าสามารถทานได้ 1 ผลเต็ม/1 ส่วน
- สัปปะรด ควรรับประทาน 1 ส่วน คือ 6-8 ชิ้น
- เชอร์รี่ ควรรับประทานแบบสดๆ ปริมาณที่พอเหมาะ ไม่เกิน 12 ผล ต่อมื้อ/1 ส่วน
- องุ่น ทานได้ วันละ 5-8 ผล /1 ส่วน
- ส้ม ทานได้ปริมาณที่พอเหมาะ คือ 1-2 ผล/1 ส่วน
ที่มา
www.pobpad.com/เบาหวานขณะตั้งครรภ์
ยารักษาเบาหวาน
ยาที่ใช้รักษาโรคเบาหวาน มีอยู่ 2 ประเภท คือ ยาฉีดกับยากิน
- ยาฉีด ยาฉีดที่ใช้รักษาเบาหวาน ได้แก่ อินซูลิน
ยาตัวนี้ทำมาจากตับอ่อนของวัวหรือของหมู เป็นสารที่คล้ายกับอินซูลินของคน จึงนำมาใช้กับร่างกายของผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อทดแทนอินซูลินที่มนุษย์ไม่สามารถสร้างได้ หรือ สร้างได้น้อยจนไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
ยาประเภทนี้ใช้ได้ผลดีและรวดเร็ว หมอมักใช้กับผู้ป่วยเบาหวานที่ใช้ยากินไม่ได้ผล หรือที่เรียกว่า “ชนิดพึ่งอินซูลิน” คนที่ต้องรักษาด้วยอินซูลิน จึงต้องฉีดยานี้ไปตลอดชีวิต
- ยาอินซูลิน
อินซูลินธรรมดา ยาฉีดประเภทนี้ถูกนำมาใช้บ่อยที่สุด เพราะออกฤทธิ์เร็วมากแต่ข้อเสียคือฤทธิ์มีระยะสั้นไม่กี่ชั่วโมง จึงต้องฉีดกันวันละหลายครั้ง หมอจึงเลือกใช้รักษาเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการรุนแรง และต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเท่านั้น
ยาฉีดที่หมอมักจะแนะนำให้ผู้ป่วยฉีดเองที่บ้าน คือ เอนพีเอชอินซูลิน ยาตัวนี้ออกฤทธิ์นาน ส่วนใหญ่จะให้ฉีดวันละครั้งตอนเช้า อาจฉีดเพียงวันละ 40-50 ยูนิต หากเป็นไม่มาก
ถ้าเป็นมากอาจต้องฉีดวันละ 60-80 ยูนิต การจะใช้ยาฉีดอินซูลินต้องให้แพทย์เป็นผู้กำหนดว่าจะต้องฉีดยาชนิดไหน เมื่อไหร่ วันละกี่ครั้ง และจำนวนเท่าไหร่ จึงควรถามแพทย์ให้ถี่ถ้วนและต้องเข้าใจตรงกัน
ขอเน้นย้ำว่าไม่ว่าจะกรณีใดห้ามซื้อยามาฉีดเองเด็ดขาด ถ้าร่างกายได้รับสารจากการฉีดมากเกินไป อาจทำให้ระดับน้ำตาลลดต่ำลง ส่งผลให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตได้
ในการแพทย์สมัยใหม่ หมอมักจะแนะนำให้ผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยฉีดเองที่บ้าน เพราะมีกระบอกและเข็มฉีดยาสำเร็จรูปสำหรับฉีดยาโดยเฉพาะ เรียกว่า “กระบอกฉีดยาอินซูลิน” ซึ่งเป็นแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง
ข้อควรระวัง : เนื่องจากฮอร์โมนอินซูลินที่เอามาใช้ในการทดแทนนั้น ได้มาจากการสกัดจากตับอ่อนของหมูและวัว สำหรับผู้ป่วยบางคนอาจแพ้ยาชนิดนี้ได้ อาการที่พบได้ทั่วไป คือมีผื่นแดงตรงบริเวณที่ฉีด
ถ้ามีอาการแพ้ควรหยุดยาแล้วกลับไปหาหมอที่รักษาให้เร็วที่สุด นอกจากใช้ฉีดในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลินแล้ว ยังใช้ฉีดในผู้ป่วยที่มีอาการกำเริบหนัก มีสารคีโตนในปัสสาวะ
มีการอักเสบ มีแผลในคุณแม่ตั้งครรภ์ และในรายที่ต้องผ่าตัด อย่าลืมว่ายาประเภทฉีดนั้นไม่สามารถทนต่อสภาะวะที่มีอากาศร้อนจัด เพราะจะทำให้อินซูลินเสื่อมสภาพและใช้การไม่ได้อีกต่อไป
ดังนั้นควรเก็บไว้ในตู้เย็นที่ไม่ใช่ช่องแช่แข็ง ก่อนใช้จะต้องทำให้เท่ากับอุณหภูมิของร่างกาย วิธีง่ายๆ คือนำไปคลึงฝ่ามือทั้ง 2 ข้าง อย่างไรก็ตามข้อที่สำคัญ คือ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของหมอ อย่างเคร่งครัด รับประทานยาตรงตามเวลา ไม่ขาดยา และไปตามนัดทุกครั้ง
- การรักษาด้วยยา
นิยมใช้ในการรักษาเบาหวานขั้นที่ 2 เพราะความปลอดภัยของยามีมากขึ้น กระบวนการทำงานของตัวยาส่งผลให้ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำลง โดยยารับประทานรักษาโรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน คือ
1. กลุ่มยาที่ส่งเสริมการทำงานของอินซูลิน
2. กลุ่มยาที่กระตุ้นการทำงานของตับอ่อนให้สร้างอินซูลิน
3. กลุ่มยาที่ขัดขวางการดูดซึมจากน้ำตาลจากทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสเลือด
การรักษาทางเลือกอื่น ๆ
นอกจากการรักษาโรคเบาหวานด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันแล้ว เพื่อช่วยให้ผลการรักษาโรคเบาหวานดียิ่งขึ้น จึงได้มีการนำสมุนไพรที่หลายคนย่องก็คือการกินยาอายุวัฒนะหรือแพทย์แผนทางเลือกมาช่วยรักษา
สมุนไพรลดระดับน้ำตาลในเลือด บางชนิดถูกวิจัยมาแล้วว่ามีฤทธิ์ในการลดระดับน้ำตาลในเลือดและยังใช้เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหาร เช่น
1. มะแว้งต้นผลสุก ของมะแว้งต้นมีสรรพคุณในการลดน้ำตาลในเลือด สามารถรับประทานได้ทั้งแบบสดและแบบลวก แต่ควรระมัดระวังหากมีการรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานานมากกว่า 1 เดือน ซึ่งอาจมีผลเสียต่อระบบประสาทในร่างกาย นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องแก้ไอ และขับเสมหะได้อีกด้วย
2. ฟ้าทะลายโจร สามารถใช้ได้หลายส่วน ส่วนรากจะช่วยในเรื่องการเจริญอาหาร บำรุงกำลัง แก้ไข้ ส่วนลำต้นเป็นยาบำรุง แก้อาการท้องร่วง ส่วนใบเป็นส่วนสำคัญที่นำมาใช้ในการลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้ไข้ กระเพาะ ลำไส้อักเสบ
3. มะระขี้นก มีสรรพคุณช่วยในการลดระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวาน ช่วยให้เจริญอาหาร ขับพยาธิ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ หากนำไปคั้นสดมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ
4. ตำลึง มีสรรพคุณสำคัญสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ช่วยในเรื่องการลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันตามัว เนื่องจากการขาดวิตามินเอ จริงๆแล้วเราสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายส่วนจากต้น แต่ส่วนที่นิยมนำมาใช้จะเป็นใบ ซึ่งใบแก่จะออกฤทธิ์ได้ดีกว่าใบอ่อน อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ มีวิตามินและแร่ธาตุสูงโดยสองสมุนไพรสุดท้าย อย่างมะระขี้นก และผักตำลึง มีการออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนอินซูลินที่ยับยั้งการสังเคราะห์น้ำตาลกลูโคส และเพิ่มการใช้กลูโคสที่มากขึ้นในตับรวมถึงช่วยชะลอการเกิดต้อกระจก ที่เป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้ด้วย ส่วนการรับประทาน สามารถทานได้หลายแบบ ทั้งแบบสกัดเป็นแคปซูล และผงชงเป็นชาดื่ม หรือจะคั้นเป็นน้ำก็ได้ แต่ไม่ควรรับประทานผลสด เพราะอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน