สายตาสั้นวิธีแก้ และป้องกันไม่ให้ค่าสายตาเพิ่มขึ้น
สายตาสั้นเป็นปัญหาใหญ่ที่หลายคนต้องเผชิญ เป็นโรคทางสายตาที่ทำให้คนมองเห็นวัตถุที่อยู่ห่างไกลได้ยากลำบาก มีวิธีแก้ปัญหาสายตาสั้นมากมาย วันนี้เราเลยจะพาทุกคนมาทำความเข้าใจสายตาสั้น พร้อม สายตาสั้นวิธีแก้ และป้องกันไม่ให้ค่าสายตาเพิ่มขึ้นกัน ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย
ทำความเข้าใจภาวะสายตาสั้น
Myopia คือศัพท์ทางการแพทย์ที่ใช้อธิบายอาการสายตาสั้น การที่มองเห็นวัตถุในระยะไกลไม่ชัดเจนนั้น เกิดจากดวงตาของผู้ที่มีสายตาสั้นได้รับแสงที่หักเหไป ไม่มาตกกระทบโดยตรงที่เรตินาจึงทำให้การมองเห็นภาพของวัตถุในระยะไกลไม่ชัดเจน สำหรับผู้ที่มีสายตาสั้นนั้นการมองวัตถุ หรือหน้าผู้คนในระยะใกล้จะไม่เป็นปัญหา แต่ในระยะไกล อาจมองเห็นเป็นภาพซ้อน เบลอ ฟุ้ง และไม่ชัดจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ เช่นการที่ไม่สามารถอ่านป้ายจราจรได้ ต้องคอยเพ่ง หรือเอาหน้าเข้าไปใกล้กับตัวหนังสือซึ่งไม่สะดวกต่อการใช้ชีวิตเท่าไหร่นัก
สายตาสั้นคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร
สำหรับภาวะสายตาสั้นนั้นก็คือการที่เรตินา หรือจอประสาทตาของเราได้รับแสงในมุมที่หักเหไปจนทำให้ภาพที่แสดงไปยังสมองของเรานั้นไม่ชัดเจน โดยการที่เรตินาเราไม่สามารถรับแสงได้ตามที่ควรจะเป็นนั้นก็เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่นการมีกระจกตาที่โค้งมนมากกว่าปกติ หรือกระบอกตาที่มีความยาวเกินค่ามาตรฐาน โดยทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้ทั้งจากสภาวะภายนอกเช่นการใช้สายตาในการจ้องหน้าจอที่มีอุปกรณ์ที่มีแสงสว่างเป็นเวลานาน การเพ่งเล็งสายตาในที่มืด หรือที่ที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ และจากทางพันธุกรรมโดยในผู้ที่มีพ่อแม่สายตาสั้นก็เป็นไปได้ว่าจะมีสายตาสั้นตามพ่อกับด้วย
สายตาสั้นมีกี่ระดับ
สำหรับระดับความสั้นของสายตานั้นก็ส่งผลต่อการมองเห็นที่แตกต่างกันออกไป ผู้ที่มีระดับสายตาสั้นไม่มากอาจยังพอใช้สายตาได้โดยไม่ต้องใช้ตัวช่วยเช่น แว่น ในการมองเห็น ในขณะเดียวกันผู้ที่มีระดับสายตาสั้นมากอาจมีปัญหาในการมองเห็นได้หากไม่มีตัวช่วยอย่างแว่น หรือคอนแทคเลนส์ โดยระดับความสั้นของสายตานั้นแบ่งได้เป็นดังนี้
- สายตาสั้นระดับปกติ คือผู้ที่มีค่าสายตาอยู่ระหว่าง -0.25 ถึง -3.00 ไดออปเตอร์ หรือผู้ที่มีค่าสายตาสั้นน้อยกว่า 300 ถือเป็นระดับค่าสายตาสั้นปกติเพราะเป็นการสั้นแบบไม่มีโรคแทรกซ้อนอาจมีแค่ส่งผลในการใช้ชีวิจประจำวันเท่านั้น
- สายตาสั้นระดับมาก คือผู้ที่มีระดับค่าสายตาที่สั้นมากกว่า -6.00 ไดออปเตอร์ หรือสั้นมากกว่า 600 ขึ้นไปนั่นเอง โดยผู้ที่มีค่าสายตาสั้นระดับนี้นั้นจัดเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะมีโรคทางสายตาตามมาเช่น จอประสาทจาเสื่อม ต้อหิน เส้นเลือดงอกผิดปกติที่จอตา ไปจนถึงจอประสาทตาหลุดออกได้
สายตาสั้นวิธีแก้ วิธีรักษาภาวะสายตาสั้น
ก่อนอื่นเลยนั้นก็ควรที่จะต้องทำการตรวจวัดค่าสายตาก่อน โดยควรเข้ารับการตรวจดวงตาเป็นประจำให้เหมือบกับการตรวจสุขภาพประจำปี และเมื่อเราพบว่าตัวเองมีภาวะสายตาสั้นแล้วนั้นก็ไม่ต้องเครียด หรือวิตกกังวลไปเพราะการรักษาภาวะสายตาสั้นนั้นสามารถทำได้หลายวิธีโดยเราควรเข้าพบจักษุแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้คำแนะนำในการรักษา และดูแลสายตาของเราได้อย่างถูกต้อง และเพื่อให้เราเจอวิธีรักษาสายตาที่ดี และเข้ากับสายตาของเรามากที่สุด
1.แว่นสายตา
การใส่แว่นสายตาถือเป็นวิธีพื้นฐาน ได้รับความนิยมมากที่สุด และมีความปลอดภัยมากที่สุด โดยเราสามารถวัดค่าสายตาเพื่อตัดเลนส์ให้เหมาะสมกับสายตาของเรามากที่สุดได้ เรายังสามารถที่จะเลือกรูปแบบของแว่นได้ตามที่เราต้องการทั้งสี ขนาด และรูปทรง แต่การใส่แว่นตานั้นก็จะมีข้อเสียงตรงที่บางครั้งก็อาจจะทำให้ไม้สะดวกในการทำกิจกรรม เช่นการเล่นกีฬาที่ต้องมีการเคลื่อนไหวไปมา และแว่นตาอาจเคลื่อนหลุดได้
2.คอนแทคเลนส์
การใส่คอนแทคเลนส์นั้นก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเพราะทำให้สามารถใช้ชีวิตได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยมีความคล้ายคลึงกันกับการใส่แว่นตาเพียงแต่ตัดตัวแว่นออกไปให้เหลือแต่เลนส์เล็ก ๆ ที่เข้ากับตาของเราเท่านั้น เราสามารถเลือกซื้อคอทเทคเลนส์ที่มีค่าสายตาตรงกับที่เราต้องการได้ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาคอนแทคเลนส์ให้มีลูกเล่นมากยิ่งขึ้น่นการมีสี และลวดลายที่เมื่อสวมใส่แล้วจะทำให้ดวงตาของเรามีสีที่เปลี่ยนไป หรือทำให้ดูน่าสนใจมากขึ้นนั่นเอง ข้อเสียของคอนแทนเลนส์นั้นก็คือการที่ผู้ที่สวยใส่จะต้องระมัดระวังเรื่องของการรักษาความสะอาด และใช้งานตามระยะเวลาที่กำหนดไว้เช่นคอนแทคเลนส์รายวันก็ควรใช้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น รายเดือนก็ไม่ควรใช้เกิน 30 วัน และต้องคอยดูไม่ให้ตาแห้งเกินไปด้วย ไม่เช่นนั้นก็อาจส่งผลให้เป็นแผลที่กระจกตา มีอาการเคืองตา ตาแดง หรือมีน้ำตาไหลมากกว่าปกติเกิดขึ้นได้
3.การผ่าตัดรักษาสายตา
สำหรับการผ่าตัดรักษาสายตาสั้นนั้นก็แบ่งออกเป็นหลายวิธี เพื่อให้เราสามารถกลับมาใช้สายตาได้อย่างปกติโดยไม่ต้องพึ่งพาการใส่แว่น หรือคอนแทคเลนส์ในชีวิตประจำวัน
4.การทำเลสิค
LASIK (Laser Assisted In-Situ Keratomileusis) เป็นการใช้เลเซอร์ในการปรับความโค้งของกระจกตา โดยผู้ที่จะทำเลสิคได้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีกระจกตาหนาเพียงพอ โดยเหมาะสำหรับผู้ที่มีค่าสายตาอยู่ระหว่าง -14.00 ไปจนถึง +6.00 เพราะเลสิคนั้นสามารถทำได้ทั้งผู้ที่มีสายตาสั้น และสายตายาว
5.รีแล็กซ์สมายล์ (Relax Smile)
เป็นการผ่าตัดที่ได้รับการพัฒนามาจากการผ่าตัดแบบ LASIK โดยเป็นการผ่าตัดที่ฟื้นตัวเร็วกว่า มีความแม่นยำกว่า แก้ปัญหาสายตาเอียงได้ แต่ไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาสายตา หรือปัญหาสุขภาพไปจนถึงสุภาพสตรที่กำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร สำหรับผู้ที่จะทำการผ่าตัดแบบนี้ได้นั้นจะต้องมีค่าสายตาอยู่ที่ไม่เกิน 1000 หรือ -10.00 ไดออปเตอร์ และมีสายตาเอียงไม่เกิน 500 หรือ -5.00 ไดออปเตอร์ มีค่าสายตาที่ไม่เปลี่ยนแปลงเลยตลอดหนึ่งปี และมีสุขภาพตาที่แข็งแรง
6.เฟมโตเลสิค (Femto LASIK)
เป็นการผ่าตัดแบบใช้เทคโนโลยีไร้ใบมีด ทำให้เกิดความเสียหายที่กระจกตาน้อยมาก มีการฟืนตัวเร็ว ผู้เข้ารับการผ่าตัดชนิดนี้อาจจะไม่รู้สึกถึงความเจ็บปวดเลยด้วยซ้ำ ข้อเสียคือเมื่อผ่าตัดแล้วอาจมีการระคายเคืองเกิดขึ้นได้ง่าย ต้องคอยระวังความสะอาด และอุบัติเหตุ่นมีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา จำเป็นจะต้องใส่ที่ครอบตาตอนนอนเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีการเกี่ยว หรือกระแทกที่ตาเกิดขึ้น ผู้ที่สามารถทำการผ่าตัดแบบนี้ได้นั้น จะต้องมีค่าสายตาอยู่ที่ไม่เกิน 1000 หรือ -10.00 ไดออปเตอร์ และเอียงไม่เกิด 600 หรือ-6.00 ไดออปเอร์
7.PRK ( Photorefractive Keratectomy)
เป็นการกำจัดเซลล์ชั้นนอก หรือเยื่อยบุผิวบนกระจกตาของเราออก แล้วปรับเปลี่ยนรูปร่างของกระจกตาด้วยใบมีด และเลเซอร์ การผ่าตัดวิธีนี้เป็นวิธีเดียวที่ผู้ที่เป็นนักบินสามารถทำได้ มีผลข้างเคียงน้อย สามารถทำได้ทั้งผู้มีสายตาสั้น และสายตาเอียง แต่ต้องระวังผลข้างเคียงคือการเกิดความขุ่นที่กระจกตา หรือมีรอยแผลที่กระจกตา โดยต้องมีสายตาสั้นไม่เกิน 500 และเอียงไม่เกิน 200 เหมาะกับผู้ที่มีกระจกตาบาง และไม่สามารถทำเลสิคได้ มีข้อเสียคือไม่สามารถรักษาภาวะสายตายาวได้
8.ICL (Implantable Lens)
เป็นการผ่าตัดเอาเลนส์เสริมชนิดถาวรใส่เข้าไปในดวงตา เป็นวิธีที่มีความปลอดภัย และมีอาการแทรกซ้อนน้อยกว่าการผ่าตัดชนิดอื่น ๆ สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งสายตาสั้น และเอียง ใช้เวลาผ่าตัดไม่เกิน 20 นาทีเท่านั้น ข้อเสียคือไม่สามารถรักษาอาการสายตายาวได้
วิธีป้องกันไม่ให้ค่าสายตาสั้นเพิ่มขึ้น
สำหรับการป้องกันนั้นเป็นการชะลอการสั้นของสายตาลงเท่านั้น ไม่สามารถที่จะรักษา หรือป้องกันไม่ให้มีภาวะสายตาสั้นเกิดขึ้นได้ แต่อย่างน้อยการช่วยชะลอภาวะสายตาสั้นไม่ให้สั้นยิ่งขึ้นก็ดีกว่าการที่เราไม่ทำอะไรเลย โดยสำหรับการป้องกันที่เราสามารถทำได้นั้นก็เช่น
- หมั่นตรวจสุขภาพตาอย่างเป็นประจำ
- เลี่ยงการดื่มสุรา และสูบบุหรี่เพราะทั้งสองสิ่งนี้ส่งผลเสียต่อร่างกายโดยรวมซึ่งรวมถึงดวงตาของเราด้วย
- ใช้แว่นสายตา และคอนแทคเลนส์ที่ถูกต้องตามค่าสายตา
- หาจังหวะในการพักสายตาหากต้องทำงานโดยใช้หน้าจออุปกรณ์ที่มีแสงเป็นเวลานานเช่นตอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แท็บเล็ต เพื่อให้สายตาของเราไม่ล้าจนเกินไป
- สวมใส่แว่นตา หรือแว่นป้องกันทุกครั้งหากต้องทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุที่สามารถที่จะเกิดขึ้นกับดวงตาของเราได้
- รับประทานอาหารหลากหลายครบทั้ง 5 หมู่
- หมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงของดวงตา และการมองเห็นของตนเองอยู่เสมอ และถ้าหากพบว่ามีการเปลี่ยนอปลงเกิดขึ้นก็ควรพบจักษุแพทยืเพื่อรับการรักษา หรือคำแนะนำเพื่อการดูแลรักษาดวงตาอย่างถูกต้อง
สายตาสั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ และทุกวัย มีปัจจัยหลากหลายในการก่อให้เกิดภาวะสายตาสั้นแต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ไม่ใช่เรื่องที่ต้องเป็นกังวลเพราะภาวะสายตาสั้นเป็นสิ่งที่เราสามารถแก้ไขได้ และมีวิธีมากมายที่จะช่วยให้ผู้ที่มีภาวะสายตาสั้นสามารถที่จะใช้สายตาในการใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติโดยไม่ต้องเป็นกังวล
อ้างอิงจาก
https://patient.info/eye-care/short-sight-myopia
https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/short-sightedness